เวลา

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลกระทบจากความไม่สงบสามชายแดนภาคใต้

Posted by แน่งน้อย 4/26/2554 08:50:00 หลังเที่ยง, under |

บทนำ
   
             สถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญ มีความรุนแรง และถี่ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็น ต้นมาพบว่าในช่วงเดือนมกราคม 2547 - เดือนตุลาคม 2551 เป็นเวลา 58 เดือน ได้เกิดเหตุการณ์ไม่ สงบ 8,403 ครั้ง เกิดจากการซุ่มโจมตี การฆ่ารายวัน การวางระเบิด การวางเพลิง โรยตะปูเรือใบ ฆ่า ตัดคอ หรือข่มขู่ทางโทรศัพท์ แจกใบปลิวสร้างสถานการณ์แทบทุกวัน และการก่อกวนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับสถานการณ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประเด็น เช่น การเมือง การศึกษา ความยากจน ยาเสพติด การว่างงาน วัฒนธรรม ความเชื่อและค่านิยม1 เป็นต้น จากสถานการณ์ความไม่สงบดังกล่าว ส่งผล กระทบต่อสุขภาพและระบบบริการด้านสุขภาพ ดังนี้
           1. ผลกระทบด้านสุขภาพ
     1.1 ด้านร่างกายและจิตใจ จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิต และ บาดเจ็บประมาณ 8,419 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้เสียชีวิต 3,193 คนและบาดเจ็บ 5,226 คน2 นอกจากนี้ได้ ส่งผลด้านสุขภาพจิต ทำให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งพยาบาลขาดขวัญและกำลังใจ3 ทำให้มี ความรู้สึกเศร้าใจ ท้อแท้ในการดำเนินชีวิต หดหู่กับการพบเห็นและรับรู้เหตุการณ์ หวาดระแวงในการ ดำเนินชีวิตและวิตกกังวล4,5 จากการสุ่มตัวอย่างสอบถามประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 510 คน ระหว่างเดือนสิงหาคมธันวาคม 2547 พบว่ามีปัญหาสุขภาพจิตที่มีสาเหตุจากความ วิตกกังวล ความเครียดจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้วิตก กังวลทั่วไป กลุ่มโรคซึมเศร้า และกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเครียดรุนแรง ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยทั้งหมดนี้ พบมาก ที่สุดที่จังหวัดยะลา โดยมีผู้ป่วยอาการเครียดรุนแรงสูงถึง 20.2% กลุ่มผู้วิตกกังวลทั่วไป 8.1% กลุ่ม ผู้ป่วยซึมเศร้า 7.1% ส่วนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี พบว่าผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้ป่วยอาการเครียดรุนแรง เท่ากันอยู่ที่ 7.7% ผู้ป่วยวิตกกังวลทั่วไปมีเพียง 4.9% สำหรับจังหวัดนราธิวาส มีกลุ่มผู้ป่วยซึมเศร้า 5.4% ผู้ป่วยเครียดรุนแรง 5.0% และกลุ่มผู้ป่วยวิตกกังวล 3% ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้สุ่มตัวอย่างจาก ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รัศมีจุดเกิดเหตุ 1.5 กิโลเมตร6 และยังพบความเครียดจากเหตุการณ์สะเทือน ขวัญ คือมีการแสดงออกโดยมีอาการวิตกกังวล รู้สึกสับสนหรือแยกส่วนและอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ภายในระยะเวลา 1 เดือนหลังประสบเหตุการณ์ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาทางจิตใจอย่างรุนแรง ได้ในอนาคต เช่น ภาวะเครียดภายหลังการบาดเจ็บทางจิตใจ (Post Traumatic Stress Disorder: PTSD) จากการสำรวจทางระบาดวิทยาของกรมสุขภาพจิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดน ใต้ พบ PTSD ประมาณร้อยละ 10 และมีการระบาดของ PTSD อยู่ที่ร้อยละ 15-25 ของคนที่เผชิญกับ เหตุการณ์สะเทือนขวัญ
     1.2 ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งเดิมมีการออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอ ไม่กล้าไปออกกำลังกาย ทำให้การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงทำ
     1.3 ด้านจิตวิญญาณ พบว่าการประกอบศาสนกิจทางศาสนาเช่น วันสำคัญทางศาสนา
ซึ่งมีพิธีเวียนเทียน มีการปรับเปลี่ยนเวลาเวียนเทียนเป็นเวลาบ่ายแทนที่จะเป็นตอนเย็นหรือหัวค่ำ อย่างที่เคยปฏิบัติ และงานเผาศพทำพิธีไม่เกิน 16.00 น. การตักบาตรตอนเช้าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากขึ้น เพราะพระภิกษุไม่กล้าออกบิณฑบาตในเวลาเช้าเช่นที่เคยปฏิบัติ เนื่องจากมีการลอบทำร้ายพระภิกษุ และสามเณร
       2. ผลกระทบต่อระบบบริการด้านสุขภาพ
สถานการณ์ความไม่สงบส่งผลให้สถานบริการทุกแห่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้อง
เตรียมความพร้อมตลอดเวลาทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ การประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อระบบ บริการสุขภาพทั้งในและนอกสถานบริการสุขภาพ ดังนี้
     2.1 ผลกระทบในสถานบริการสุขภาพ
  2.1.1 ผู้บาดเจ็บมีจำนวนมากแต่อัตรากำลังไม่เพียงพอโดยเฉพาะเวรเช้า และจาก เหตุการณ์ความไม่สงบ และปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยไม่กล้าไปรับบริการในช่วงเวลากลางคืนเนื่องจากกลัว ความไม่ปลอดภัย เพราะเวลากลางคืนมักเกิดเหตุการณ์ไม่สงบบ่อยมาก ทำให้พยาบาลที่อยู่เวรใน เวลากลางวันต้องรับภาระในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น เช่นเดียวกับการปรับตัวในสถานการณ์ความไม่ สงบของโรงพยาบาลรามันพบว่าเจ้าหน้าที่ต้องรับภาระงานมากขึ้นจากที่ผู้ป่วยไม่กล้ามารับบริการใน เวลากลางคืน อีกทั้งสถานีอนามัยต้องปิดบ่อยครั้ง เพราะไม่มีใครกล้ารับรองความปลอดภัยของใครได้ ทำให้มีผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลในเวลากลางวันมากขึ้น10,11เช่นเดียวกับการศึกษาผลกระทบ ต่อการจัดบริการสุขภาพและขวัญกำลังใจของพยาบาลวิชาชีพในภาวะวิกฤติสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ พบการปิดหน่วยบริการของสถานีอนามัยสูงถึงร้อยละ 68.512 ส่งผลให้ผู้ป่วยมารับบริการใน โรงพยาบาลมากขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีภาระงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เมื่อมี ผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบ เช่นเหตุระเบิด ซึ่งต้องช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเร่งด่วนจำนวนมาก อาจทำให้อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ไม่เพียงพอ
   2.1.2 บุคลากรสาธารณสุขปฏิบัติงานด้วยความหวาดระแวงในสถานการณ์ที่ขัดแย้ง และไม่แน่นอน ในขณะเดียวกันสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในบางครั้งทำให้พยาบาลปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความหวาดระแวงในสถานการณ์ที่ขัดแย้งและไม่แน่นอน ที่รู้สึกหวาดระแวงกับคนไข้เพราะไม่ แน่ใจว่าเป็นคนไข้จริงหรือไม่ บางครั้งเมื่อมีผู้รับบริการจำนวนมากซึ่งได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ใน
     2.2 ผลกระทบนอกสถานบริการสุขภาพ
   2.2.1 งานบริการเชิงรุกทำได้น้อยลง ระบบการเยี่ยมบ้าน งานนโยบายด้าน สาธารณสุข การปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน การติดตามผู้ป่วย การออก ให้บริการทันตกรรมโรงเรียน การรณรงค์ต่างๆ กลุ่มงานที่รับผิดชอบและขับเคลื่อนงานบริการเชิงรุก คือเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานสถานีอนามัย ส่วนใหญ่มีเพียงตั้งรับในสถานบริการ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่มั่นใจในความปลอดภัย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ เป็นพื้นที่สีแดง มีความเสี่ยงสูงต่อความไม่ปลอดภัย เช่นเดียวกับการศึกษาวิกฤติของระบบ สาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่าการส่งเสริมสุขภาพ/ป้องกันโรคลดลงร้อยละ 70 การ เยี่ยมบ้านลดลงร้อยละ 60 ด้านบริการทันตกรรมลดลงร้อยละ 50 หากสถานการณ์ความไม่สงบยัง ยืดเยื้อต่อไปส่งผลทำให้เกิดปัญหาระยะยาว คือมีการซ่อมสุขภาพมากกว่าการสร้างสุขภาพ ส่งผลให้ เกิดปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น
    2.2.2 ความไม่ปลอดภัยในการส่งต่อผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บในเวลากลางคืนและจาก สถานการณ์ความไม่สงบ เพราะโรงพยาบาลชุมชนไม่มีแพทย์เฉพาะทาง ไม่มีห้องผ่าตัด จำเป็นต้อง ส่งต่อผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งในการส่งต่อผู้ป่วยบางครั้ง จำเป็นต้องใช้พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลชุมชนหลายคนในการส่งต่อผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บทำให้พยาบาลโรงพยาบาลชุมชนต้องทำงานหนักขึ้น และอาจเกิดความไม่ปลอดภัยเนื่องจากการส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีโอกาสเสี่ยงหลายประเด็นคือ ลักษณะ ของภูมิประเทศเป็นภูเขา ป่าทึบ เส้นทางคดเคี้ยวและมี 2 ช่องทาง ความไม่ปลอดภัยจากการสัญจร เพราะระหว่างเดินทางอาจมีสิ่งกีดขวางจราจร เช่นสัตว์เลี้ยงนอนหรือเดินบนถนน ต้นไม้ล้มขวางทาง ความไม่ปลอดภัยจากสภาพของรถพยาบาลฉุกเฉิน นอกจากนี้โรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในสถานการณ์ความไม่สงบโดยไม่ทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า และการ ลอบวางระเบิด ซุ่มยิง การโรยตะปูเรือใบ มักเกิดเหตุการณ์ในเวลากลางคืน เนื่องจากสะดวกต่อการก่อ ความไม่สงบได้ง่าย หากการส่งต่อผู้ป่วยในช่วงเวลากลางวันจะไม่เสี่ยงเหมือนเวลากลางคืน เนื่องจาก เวลากลางวันมีผู้คนใช้รถใช้ถนน มากกว่าเวลากลางคืน และสามารถมองเห็นสิ่งกีดขวางต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยง วัตถุต้องสงสัย ตะปูเรือใบได้ในระยะไกล และจากการศึกษาลักษณะการก่อความไม่สงบ พบว่าช่วงที่เกิดเหตุการณ์มักเป็นช่วงเวลา 18.01 น.-21.00 น. คิดเป็นร้อยละ 35.5917
   2.2.3 ไม่สามารถออกรับผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ/การชันสูตร นอก โรงพยาบาลทำให้บุคลากรสาธารณสุขไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพและตามบทบาท หน้าที่ เนื่องจากการปฏิบัติงานด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ความไม่สงบเจ้า พนักงานกู้ชีพซึ่งมีบทบาทด้านการรับแจ้งเหตุ สั่งการออกเหตุ การช่วยเหลือผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บ ณ จุด เกิดเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่จะเตรียมการรับผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาล หรือหากออกไปให้การช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ กรณีสถานการณ์ความไม่สงบที่มีระเบิดเจ้าพนักงานกู้ชีพควรอยู่ในโซนที่ปลอดภัยหรือ เข้าช่วยเหลือในเวลาที่มั่นใจว่าสถานการณ์ปกติ และจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุ ระเบิดมักจะมีผู้บาดเจ็บจำนวนมากถือเป็นอุบัติเหตุหมู่ เมื่อได้รับแจ้งเหตุเจ้าพนักงานกู้ชีพต้องออก ปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุเป็นคนแรก และจำเป็นต้องประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทีมเก็บกู้ระเบิด เพื่อ ช่วยเคลียร์พื้นที่ให้ปลอดภัยก่อน แต่บ่อยครั้งมักจะเกิดระเบิดลูกที่สองเกิดขึ้นเสมอ หรือบางครั้งเมื่อ ได้รับแจ้งเหตุไม่มั่นใจว่าเป็นสถานการณ์จริง หรือโทรศัพท์มาเพื่อสร้างสถานการณ์ ทำให้มีผลกระทบ ต่อการจัดบริการนอกโรงพยาบาล การออกรับผู้เจ็บป่วย/บาดเจ็บฉุกเฉินและช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ เพราะสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นผู้ก่อการร้ายมักหาวิธีการ รูปแบบใหม่ ๆ และมีความซับซ้อน มากขึ้นในการก่อความไม่สงบเพื่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต บางครั้งมีการประเมินสถานการณ์ความ ปลอดภัยยังอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่เสี่ยงขณะให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยที่ไม่มีใครคาดคิดมา ก่อน กรณีศึกษาประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่บริการการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าพนักงานกู้ชีพใน สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดยะลา พบว่าบางครั้งแม้ตรวจสอบสถานการณ์ปลอดภัยเคลียร์พื้นที่ เรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อออกไปรับผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุในพื้นที่กลับมีผู้ก่อความไม่สงบยิงปืนออกมา ทำให้เสี่ยงต่อชีวิต15 จะเห็นได้ว่างานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) เป็นงานนโยบายของ ประเทศไม่สามารถให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ บางโรงพยาบาลออกรับผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บเฉพาะใน เวลากลางวันและอยู่ในเขตเทศบาลเท่านั้น ทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถใช้บริการ EMS ได้อย่าง ทั่วถึง บางคนเจ็บป่วยเวลากลางคืนทำให้ต้องพึ่งตนเองหรืออดทนให้ถึงช่วงเช้า เพราะไม่กล้าเดินทาง มาโรงพยาบาลในเวลากลางคืน จะเห็นว่าทั้งบุคลากรสาธารณสุขและผู้ป่วยต้องมีการปรับตัวและ เรียนรู้ที่จะปฏิบัติงานและอยู่ในพื้นที่ได้อย่างปลอดภัยและเกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด กรณีที่เจ้าหน้าที่นำศพมาชันสูตรในโรงพยาบาลก็จะประสบกับความยากลำบาก เนื่องจากญาติของผู้เสียชีวิตมักจะมุงดูการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นจำนวนมาก


การแก้ปัญหาและการปรับเปลี่ยนด้านระบบบริการสุขภาพ
        1. ปรับระบบการส่งต่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เมื่อมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น ได้มีข้อเสนอแนะในการส่งต่อ ควรพิจารณาถึงความจำเป็นเร่งด่วนของอาการผู้ป่วย หากมีความจำเป็น น้อย ผู้ป่วยมีอาการปลอดภัยรอได้ ควรดำเนินการส่งต่อในเวลากลางวัน ไม่ควรส่งต่อในเวลากลางคืน หรือนอกเวลาราชการ กรณีมีความจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วย และประเมินแล้วผู้ป่วยที่มีอาการปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องมีพยาบาลดูแลในระหว่างเดินทาง ให้อธิบายสร้างความเข้าใจแก่ญาติหรือผู้นำส่งผู้ป่วย โดยควรให้ญาติ ทหาร ตำรวจ เป็นผู้ส่งต่อและดูแลผู้ป่วยระหว่างนำส่ง หากจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วย ในยามวิกาล จะให้พยาบาลไปส่งต่อ 2 คน หรือขอกองกำลังทหาร หรือตำรวจ คุ้มกันนั่งประจำรถพยาบาล ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานบริการแต่ละแห่งตามความจำเป็น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และ ความเหมาะสม กรณีจำเป็นต้องมีการคุ้มครองรักษาความปลอดภัย โดยชุดกองกำลังทหารหรือตำรวจ หรืออาจใช้รถกระบะในการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เป็นจุดเด่น
     2. งดออกชันสูตรนอกโรงพยาบาลหรืออาจจะพิจารณาเป็นกรณี ช่วงที่เกิดสถานการณ์ความ ไม่สงบในช่วงแรกๆ พยาบาลยังต้องออกชันสูตรนอกโรงพยาบาลแต่เมื่อเหตุการณ์ถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น ทำให้มีการทบทวนมาตรการความปลอดภัยในการออกชันสูตรศพนอกโรงพยาบาล จากข้อมูลข้างต้น ผู้ให้ข้อมูลงดออกชันสูตรศพนอกโรงพยาบาล และได้มีแนวทางให้ตำรวจนำศพมาชันสูตรที่ โรงพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของแพทย์ พยาบาลยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่นเดียวกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลาและวิทยาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.)ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร ได้หาแนวทางปฏิบัติงานจากกรณีการชันสูตรศพจาก เหตุการณ์ความไม่สงบ ไว้ดังนี้
   1) การชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ สามารถประสานแจ้งขอรับการสนับสนุนแพทย์ นิติเวชจาก ส่วนวิทยาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจ แห่งชาติส่วนหน้า ซึ่งสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้
     2) ควรมีการชันสูตร ศพในที่เกิดเหตุให้เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด
    3) หากมีปัญหาไม่สามารถดำเนินการในพื้นที่ได้ จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายศพ ควรเคลื่อนย้ายไปชันสูตรที่โรงพยาบาลยะลา หรือ ศปก.ตร.สน.
    4) กรณีศพมุสลิม ควรจัดการศพตามหลักศาสนา อย่างเคารพ เพื่อป้องกันปัญหาด้านการปฏิบัติ ซึ่ง ในขณะนี้ทุกโรงพยาบาลจะไม่ออกชันสูตรนอกโรงพยาบาล
     3. มีมาตรการคัดกรองและตรวจสอบก่อนการรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ได้มีแนวทางและ กำหนดขอบเขตพื้นที่และลักษณะของผู้ป่วยที่จะออกรับผู้ป่วย ซึ่งต้องมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ได้ของข้อมูล และสถานที่ ณ จุดเกิดเหตุ หากประเมินแล้วมีโอกาสเสี่ยงต่ออันตราย และเป็นสถานที่ ที่ไม่รู้จักจะไม่ออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ หรือบางครั้งให้เจ้าหน้าที่ทีมกู้ภัยในระดับตำบลเพื่อช่วยในการ ออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ถ้าเป็นผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบจะต้องมีการประสานงานกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร หน่วยเก็บกู้ระเบิดเพื่อประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยก่อนให้การ ช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทีมกู้ภัยในพื้นที่จะได้รับการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการ ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจากบุคลากรสาธารณสุข
     4. ประสานขอเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงผู้บาดเจ็บ ในกรณีที่การส่งต่อผู้บาดเจ็บบนภาคพื้นดินมี ความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารได้รับบาดเจ็บ บางครั้งอาจจำเป็นต้องส่ง ต่อผู้บาดเจ็บทางอากาศ จะมีการประสานเพื่อให้ผู้บาดเจ็บได้รับการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพมาก ที่สุด ปลอดภัยที่สุด
      5. เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยในโรงพยาบาล ระบบรักษาความปลอดภัยในการอยู่ใน พื้นที่เป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่งพบว่าทุกโรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เพิ่ม ระบบรักษาความปลอดภัยโดยจัดให้มียามตลอด 24ชั่วโมง ติดตั้งกล้องวงจรปิด ปิดประตู โรงพยาบาลกำหนดเวลาเข้าออก ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าเขตบ้านพักของเจ้าหน้าที่ ติดไฟให้สว่างเพื่อ สะดวกในการตรวจตราสิ่งผิดปกติ ซึ่งเป็นข้อตกลงในการหาแนวทางร่วมกันของโรงพยาบาลในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ต้องมีรั้วของโรงพยาบาลด้านหน้าอย่างมิดชิด ด้านข้างอาจมีการวาง ลวดหนามรอบขอบรั้ว และต้องเตรียมระบบไฟ ซึ่งอาจต้องใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลและการสนับสนุนจาก รัฐบาล และพยาบาลรวมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลได้มีการตรวจตราสิ่งปกติ เช่น ถัง ขยะ ถุงสิ่งผิดปกติต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
      6. สำรองเครื่องมือให้พร้อมใช้และเตรียมความพร้อมฉุกเฉินตลอดเวลา เมื่อมีผู้บาดเจ็บและ เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบมากขึ้น โรงพยาบาลต้องเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บเช่น การจัดเตรียมเครื่องมือ ต่างๆ วัสดุทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ พยาบาลต้องวางแผนจัดหาให้มีความพร้อมตลอดเวลาเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลรักษาพยาบาล อย่างมีคุณภาพ เพราะหากมีทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ที่มีคุณภาพแต่เครื่องมือ เวชภัณฑ์ต่างๆไม่เพียงพอ อาจทำให้การดูแลรักษาพยาบาลส่งผลต่อมาตรฐานการให้บริการและ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตได้ ขณะนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่สงบก็ไม่พบว่าอุปกรณ์ เครื่องมือทาง การแพทย์ไม่พอใช้ ซึ่งจากการประชุมผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ และผู้บริหารในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ได้ข้อสรุปประเด็นการสำรองวัสดุ/อุปกรณ์ สิ่งจำเป็นต่างๆ ในยามเกิดเหตุไม่สงบ คือให้เตรียม วัสดุการแพทย์/อุปกรณ์ต่างๆ ให้เตรียมไว้อย่างน้อย 2 เท่า สำรองน้ำมันเชื้อเพลิง รถ/ยานพาหนะ
       สรุป
            จากข้อมูลข้างต้นแม้สถานการณ์ความไม่สงบที่ยืดเยื้อและไม่มีวี่แววจะยุติ สถานบริการด้าน สุขภาพต้องพยายามเรียนรู้ ปรับตัวเพื่อให้สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่และปฏิบัติงานให้ได้ตามเกณฑ์ มาตรฐาน และนโยบายของประเทศภายใต้ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นโดยก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตน้อยที่สุด เช่น ปรับระบบการส่งต่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ คัดกรองตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนออกรับ ผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ ระบบรักษาความปลอดภัย การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือและตนเองตลอดเวลา เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีมาตรฐาน และ เป็นที่พึ่งของประชาชนท่ามกลางความไม่สงบ ความขัดแย้งต่างๆ ในพื้นที่

    

ปฏิทิน

แน่งน้อย

เล่นทราย

อยากเห็นคนไทยรักกันได้อย่างเดิม

คนไทยหัวใจเดียวกัน

to A