เวลา

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

76 ปี ประชาธิปไตยไทย

Posted by แน่งน้อย 4/27/2554 11:00:00 ก่อนเที่ยง, under |

76 ปี ประชาธิปไตยไทย


                   การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในยุครัตนโกสินทร์ ยั่งยืนมา 150 ปี จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จนบัดนี้กำลังล่วงลุสู่ปีที่ 76 ในวันที่ 24 มิถุนายน 2551 ที่จะถึงนี้
                 เมื่อวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติได้ออกประกาศเรียกว่า ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 อ้างเหตุผลความจำเป็นในการต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองความว่า
"เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิมทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย มิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆได้กระทำกัน ..... ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว"
             "ฯลฯ.......เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงม าก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว"
               คณะผู้ก่อการปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์ ได้ประกาศนโยบาย โดยเรียกว่า "หลักใหญ่ๆที่คณะราษฎรวางไว้" มีอยู่ว่า
1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)
5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลักสี่ประการดังกล่าวข้างต้น
6.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
คณะราษฎรผู้ก่อการปฏิวัติ ได้ให้ความหวังแก่ประชาชนในแถงการณ์สุดท้ายว่า "ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆอันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาส พวกเจ้าหมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย์" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า"
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองและได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรดังกล่าว เหตุการณ์บ้านเมือง มีความสับสนวุ่นวาย อาญาสิทธิในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลายเป็นการผูกขาดอำนาจเผด็จการในระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎรกำหนดให้ จนมีคำกล่าวขานเป็นคำคล้องจองว่า "พระยาพหลต้นคิด หลวงประดิษฐ์ต้นเรื่อง โค่นอำนาจพระราชา ปล่อยหมูปล่อยหมามานั่งเมือง"
วันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสละราชสมบัติ โดยพระราชหัตถเลขา ความว่า
                 "ข้าพเจ้าเห็นว่า คณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้

ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

ผ่าทางตันวิกฤติประเทศไทย

Posted by แน่งน้อย 4/26/2554 10:52:00 หลังเที่ยง, under |

ความขัดแย้งในประเทศไทย
    
                    ความขัดแย้งในสังคมไทยในอดีตมีมาเรื่อย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำที่ยุติลงด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิ.ย.2475 หลังจากนั้นก็เกิดความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ระหว่างรัฐไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2492-2525  ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยนโยบายการให้อภัย ตามคำสั่งที่ 66/2523 ต่อมาก็เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชน อันก่อให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535
                 แต่ความขัดแย้งที่ผ่านมายังไม่มีความรุนแรงเท่าความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อ เรื้อรังในขณะนี้ ที่เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2548 และพัฒนามาเป็นความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลืองกับ เสื้อแดงอยู่จนถึงทุกวันนี้ ความขัดแย้งยาวนานนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าจะจบลงอย่างไร แต่ที่แน่ใจได้ก็คือ ผลกระทบของมันมีความรุนแรงมากหลายด้าน ดังนี้
              1.ความขัดแย้งดังกล่าวถูกกระพือให้เป็นความขัดแย้งร้าวลึกระหว่างประชาชน ลุกลามไปทุกที่ ไม่ว่าในครอบครัว ในบรรดาเพื่อนฝูงที่ทำงาน จนแม้ระหว่างคนในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะคนภาคเหนือและภาคอีสานฝ่ายหนึ่ง กับคนภาคใต้ ถึงขั้นที่มีการตั้งคำถามถึงเอกภาพและบูรณภาพของความเป็นชาติไทยเลยทีเดียว หากไม่สามารถระงับความรู้สึกแตกแยกรุนแรงนี้ ให้ยุติลงได้ในอนาคตอันใกล้ ก็ไม่แน่ว่าอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยหนึ่งเดียวจะสั่นคลอนเพียงใด
            2. ไม่มีความขัดแย้งครั้งใดที่เกือบทุกสถาบันหลักของประเทศถูกตั้งคำถามถึงความ ชอบธรรม และบทบาทมากที่สุด อย่างในเวลานี้ รัฐบาลพลังประชาชนประชาชนของอดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ถูกคนเสื้อเหลืองประท้วงยืดเยื้อ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ถูกคนเสื้อแดงประท้วงไม่เลิก รัฐสภาก็ถูกตั้งฉายาที่แสดงให้เห็นการไม่ยอมรับ องค์กรอิสระก็ถูกท้าทายและไม่ยอมรับ ศาลซึ่งไม่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ถูกวิพากษ์อย่างเปิดเผย สถาบันองคมนตรีซึ่งควรอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ก็เป็นเป้าการโจมตีของคนบางกลุ่ม! วิกฤติความเป็นธรรมนี้บั่นทอนความเชื่อมั่น (Trust) ในสถาบันทั้งหลาย และอาจนำมาซึ่งความล่มสลายของประชาธิปไตยได้หากปล่อยให้ยืดเยื้อ
               3.หลักนิติธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายในบ้านเมืองถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรงโดยรัฐเองและประชาชน การทุจริตที่ปรากฏเป็นข่าวมากมายในฝ่ายการเมืองและข้าราชการแสดงให้เห็นความไม่แยแสต่อกฎหมายของผู้มีอำนาจ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการที่ฝูงชนทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดงสามารถกระทำการท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายได้โดยมิได้มีอะไร เกิดขึ้น ทำให้มีการตั้งคำถามกันว่า รัฐไทยเป็นรัฐที่ล้มเหลว (Failed State) ที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศได้หรือไม่? ยิ่งถ้าดูเทียบกับดัชนีวัดหลักนิติธรรมของสถาบันธนาคารโลก (World Bank Institute) แล้ว ก็จะพบว่าในปี 2550 สถานะของหลักนิติธรรมในอาเซียนนั้น เราดีกว่าเพียงพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และฟิลิปปินส์เท่านั้น
                4. การลุกลามของความขัดแย้งในประเทศเป็นปัญหาระหว่างประเทศของไทยกับเพื่อนบ้าน คือกัมพูชา ซึ่งถ้าไม่จัดการให้ดีก็จะกระทบกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งอาจลุกลามไปสู่ภูมิภาคก็เป็นได้
                5. ผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้น ยังไม่มีสถาบันใดทำตัวเลขให้เห็นชัดสำหรับความสูญเสียดังกล่าวของประเทศไทย แต่ถ้าเทียบกับประเทศเกาหลีใต้ที่ความรุนแรงของความขัดแย้งของสังคมน้อยกว่า ไทยมาก ก็จะเห็นความน่ากลัว จากรายงานของสถาบันพัฒนาเกาหลี (Korean Development Institute) ในปี 2549 ซึ่งระบุว่ามีการเดินขบวน 11,036 ครั้ง ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจถึง 5.6 –9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ประเทศไทยมีความรุนแรงกว่ามาก แต่ยังไม่มีใครทำตัวเลขออกมาทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นผลที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าดูผลที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเกิดขึ้นในระยะต่อๆ ไปก็คือ ความเชื่อมั่นของสังคมโลกต่อประเทศไทย ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม คงถูกกระทบอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์.

ผลกระทบจากความไม่สงบสามชายแดนภาคใต้

Posted by แน่งน้อย 4/26/2554 08:50:00 หลังเที่ยง, under |

บทนำ
   
             สถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญ มีความรุนแรง และถี่ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็น ต้นมาพบว่าในช่วงเดือนมกราคม 2547 - เดือนตุลาคม 2551 เป็นเวลา 58 เดือน ได้เกิดเหตุการณ์ไม่ สงบ 8,403 ครั้ง เกิดจากการซุ่มโจมตี การฆ่ารายวัน การวางระเบิด การวางเพลิง โรยตะปูเรือใบ ฆ่า ตัดคอ หรือข่มขู่ทางโทรศัพท์ แจกใบปลิวสร้างสถานการณ์แทบทุกวัน และการก่อกวนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับสถานการณ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายประเด็น เช่น การเมือง การศึกษา ความยากจน ยาเสพติด การว่างงาน วัฒนธรรม ความเชื่อและค่านิยม1 เป็นต้น จากสถานการณ์ความไม่สงบดังกล่าว ส่งผล กระทบต่อสุขภาพและระบบบริการด้านสุขภาพ ดังนี้
           1. ผลกระทบด้านสุขภาพ
     1.1 ด้านร่างกายและจิตใจ จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิต และ บาดเจ็บประมาณ 8,419 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้เสียชีวิต 3,193 คนและบาดเจ็บ 5,226 คน2 นอกจากนี้ได้ ส่งผลด้านสุขภาพจิต ทำให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งพยาบาลขาดขวัญและกำลังใจ3 ทำให้มี ความรู้สึกเศร้าใจ ท้อแท้ในการดำเนินชีวิต หดหู่กับการพบเห็นและรับรู้เหตุการณ์ หวาดระแวงในการ ดำเนินชีวิตและวิตกกังวล4,5 จากการสุ่มตัวอย่างสอบถามประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 510 คน ระหว่างเดือนสิงหาคมธันวาคม 2547 พบว่ามีปัญหาสุขภาพจิตที่มีสาเหตุจากความ วิตกกังวล ความเครียดจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้วิตก กังวลทั่วไป กลุ่มโรคซึมเศร้า และกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเครียดรุนแรง ซึ่งในกลุ่มผู้ป่วยทั้งหมดนี้ พบมาก ที่สุดที่จังหวัดยะลา โดยมีผู้ป่วยอาการเครียดรุนแรงสูงถึง 20.2% กลุ่มผู้วิตกกังวลทั่วไป 8.1% กลุ่ม ผู้ป่วยซึมเศร้า 7.1% ส่วนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี พบว่าผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้ป่วยอาการเครียดรุนแรง เท่ากันอยู่ที่ 7.7% ผู้ป่วยวิตกกังวลทั่วไปมีเพียง 4.9% สำหรับจังหวัดนราธิวาส มีกลุ่มผู้ป่วยซึมเศร้า 5.4% ผู้ป่วยเครียดรุนแรง 5.0% และกลุ่มผู้ป่วยวิตกกังวล 3% ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้สุ่มตัวอย่างจาก ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รัศมีจุดเกิดเหตุ 1.5 กิโลเมตร6 และยังพบความเครียดจากเหตุการณ์สะเทือน ขวัญ คือมีการแสดงออกโดยมีอาการวิตกกังวล รู้สึกสับสนหรือแยกส่วนและอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ภายในระยะเวลา 1 เดือนหลังประสบเหตุการณ์ จะมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาทางจิตใจอย่างรุนแรง ได้ในอนาคต เช่น ภาวะเครียดภายหลังการบาดเจ็บทางจิตใจ (Post Traumatic Stress Disorder: PTSD) จากการสำรวจทางระบาดวิทยาของกรมสุขภาพจิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดน ใต้ พบ PTSD ประมาณร้อยละ 10 และมีการระบาดของ PTSD อยู่ที่ร้อยละ 15-25 ของคนที่เผชิญกับ เหตุการณ์สะเทือนขวัญ
     1.2 ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งเดิมมีการออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอ ไม่กล้าไปออกกำลังกาย ทำให้การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงทำ
     1.3 ด้านจิตวิญญาณ พบว่าการประกอบศาสนกิจทางศาสนาเช่น วันสำคัญทางศาสนา
ซึ่งมีพิธีเวียนเทียน มีการปรับเปลี่ยนเวลาเวียนเทียนเป็นเวลาบ่ายแทนที่จะเป็นตอนเย็นหรือหัวค่ำ อย่างที่เคยปฏิบัติ และงานเผาศพทำพิธีไม่เกิน 16.00 น. การตักบาตรตอนเช้าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากขึ้น เพราะพระภิกษุไม่กล้าออกบิณฑบาตในเวลาเช้าเช่นที่เคยปฏิบัติ เนื่องจากมีการลอบทำร้ายพระภิกษุ และสามเณร
       2. ผลกระทบต่อระบบบริการด้านสุขภาพ
สถานการณ์ความไม่สงบส่งผลให้สถานบริการทุกแห่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้อง
เตรียมความพร้อมตลอดเวลาทั้งด้านบุคลากร อุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ การประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อระบบ บริการสุขภาพทั้งในและนอกสถานบริการสุขภาพ ดังนี้
     2.1 ผลกระทบในสถานบริการสุขภาพ
  2.1.1 ผู้บาดเจ็บมีจำนวนมากแต่อัตรากำลังไม่เพียงพอโดยเฉพาะเวรเช้า และจาก เหตุการณ์ความไม่สงบ และปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยไม่กล้าไปรับบริการในช่วงเวลากลางคืนเนื่องจากกลัว ความไม่ปลอดภัย เพราะเวลากลางคืนมักเกิดเหตุการณ์ไม่สงบบ่อยมาก ทำให้พยาบาลที่อยู่เวรใน เวลากลางวันต้องรับภาระในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น เช่นเดียวกับการปรับตัวในสถานการณ์ความไม่ สงบของโรงพยาบาลรามันพบว่าเจ้าหน้าที่ต้องรับภาระงานมากขึ้นจากที่ผู้ป่วยไม่กล้ามารับบริการใน เวลากลางคืน อีกทั้งสถานีอนามัยต้องปิดบ่อยครั้ง เพราะไม่มีใครกล้ารับรองความปลอดภัยของใครได้ ทำให้มีผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลในเวลากลางวันมากขึ้น10,11เช่นเดียวกับการศึกษาผลกระทบ ต่อการจัดบริการสุขภาพและขวัญกำลังใจของพยาบาลวิชาชีพในภาวะวิกฤติสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ พบการปิดหน่วยบริการของสถานีอนามัยสูงถึงร้อยละ 68.512 ส่งผลให้ผู้ป่วยมารับบริการใน โรงพยาบาลมากขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีภาระงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เมื่อมี ผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบ เช่นเหตุระเบิด ซึ่งต้องช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเร่งด่วนจำนวนมาก อาจทำให้อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ไม่เพียงพอ
   2.1.2 บุคลากรสาธารณสุขปฏิบัติงานด้วยความหวาดระแวงในสถานการณ์ที่ขัดแย้ง และไม่แน่นอน ในขณะเดียวกันสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในบางครั้งทำให้พยาบาลปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความหวาดระแวงในสถานการณ์ที่ขัดแย้งและไม่แน่นอน ที่รู้สึกหวาดระแวงกับคนไข้เพราะไม่ แน่ใจว่าเป็นคนไข้จริงหรือไม่ บางครั้งเมื่อมีผู้รับบริการจำนวนมากซึ่งได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ใน
     2.2 ผลกระทบนอกสถานบริการสุขภาพ
   2.2.1 งานบริการเชิงรุกทำได้น้อยลง ระบบการเยี่ยมบ้าน งานนโยบายด้าน สาธารณสุข การปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน การติดตามผู้ป่วย การออก ให้บริการทันตกรรมโรงเรียน การรณรงค์ต่างๆ กลุ่มงานที่รับผิดชอบและขับเคลื่อนงานบริการเชิงรุก คือเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานสถานีอนามัย ส่วนใหญ่มีเพียงตั้งรับในสถานบริการ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่มั่นใจในความปลอดภัย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ เป็นพื้นที่สีแดง มีความเสี่ยงสูงต่อความไม่ปลอดภัย เช่นเดียวกับการศึกษาวิกฤติของระบบ สาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่าการส่งเสริมสุขภาพ/ป้องกันโรคลดลงร้อยละ 70 การ เยี่ยมบ้านลดลงร้อยละ 60 ด้านบริการทันตกรรมลดลงร้อยละ 50 หากสถานการณ์ความไม่สงบยัง ยืดเยื้อต่อไปส่งผลทำให้เกิดปัญหาระยะยาว คือมีการซ่อมสุขภาพมากกว่าการสร้างสุขภาพ ส่งผลให้ เกิดปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น
    2.2.2 ความไม่ปลอดภัยในการส่งต่อผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บในเวลากลางคืนและจาก สถานการณ์ความไม่สงบ เพราะโรงพยาบาลชุมชนไม่มีแพทย์เฉพาะทาง ไม่มีห้องผ่าตัด จำเป็นต้อง ส่งต่อผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งในการส่งต่อผู้ป่วยบางครั้ง จำเป็นต้องใช้พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลชุมชนหลายคนในการส่งต่อผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บทำให้พยาบาลโรงพยาบาลชุมชนต้องทำงานหนักขึ้น และอาจเกิดความไม่ปลอดภัยเนื่องจากการส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีโอกาสเสี่ยงหลายประเด็นคือ ลักษณะ ของภูมิประเทศเป็นภูเขา ป่าทึบ เส้นทางคดเคี้ยวและมี 2 ช่องทาง ความไม่ปลอดภัยจากการสัญจร เพราะระหว่างเดินทางอาจมีสิ่งกีดขวางจราจร เช่นสัตว์เลี้ยงนอนหรือเดินบนถนน ต้นไม้ล้มขวางทาง ความไม่ปลอดภัยจากสภาพของรถพยาบาลฉุกเฉิน นอกจากนี้โรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในสถานการณ์ความไม่สงบโดยไม่ทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า และการ ลอบวางระเบิด ซุ่มยิง การโรยตะปูเรือใบ มักเกิดเหตุการณ์ในเวลากลางคืน เนื่องจากสะดวกต่อการก่อ ความไม่สงบได้ง่าย หากการส่งต่อผู้ป่วยในช่วงเวลากลางวันจะไม่เสี่ยงเหมือนเวลากลางคืน เนื่องจาก เวลากลางวันมีผู้คนใช้รถใช้ถนน มากกว่าเวลากลางคืน และสามารถมองเห็นสิ่งกีดขวางต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยง วัตถุต้องสงสัย ตะปูเรือใบได้ในระยะไกล และจากการศึกษาลักษณะการก่อความไม่สงบ พบว่าช่วงที่เกิดเหตุการณ์มักเป็นช่วงเวลา 18.01 น.-21.00 น. คิดเป็นร้อยละ 35.5917
   2.2.3 ไม่สามารถออกรับผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ/การชันสูตร นอก โรงพยาบาลทำให้บุคลากรสาธารณสุขไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพและตามบทบาท หน้าที่ เนื่องจากการปฏิบัติงานด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ความไม่สงบเจ้า พนักงานกู้ชีพซึ่งมีบทบาทด้านการรับแจ้งเหตุ สั่งการออกเหตุ การช่วยเหลือผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บ ณ จุด เกิดเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่จะเตรียมการรับผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาล หรือหากออกไปให้การช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ กรณีสถานการณ์ความไม่สงบที่มีระเบิดเจ้าพนักงานกู้ชีพควรอยู่ในโซนที่ปลอดภัยหรือ เข้าช่วยเหลือในเวลาที่มั่นใจว่าสถานการณ์ปกติ และจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุ ระเบิดมักจะมีผู้บาดเจ็บจำนวนมากถือเป็นอุบัติเหตุหมู่ เมื่อได้รับแจ้งเหตุเจ้าพนักงานกู้ชีพต้องออก ปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุเป็นคนแรก และจำเป็นต้องประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทีมเก็บกู้ระเบิด เพื่อ ช่วยเคลียร์พื้นที่ให้ปลอดภัยก่อน แต่บ่อยครั้งมักจะเกิดระเบิดลูกที่สองเกิดขึ้นเสมอ หรือบางครั้งเมื่อ ได้รับแจ้งเหตุไม่มั่นใจว่าเป็นสถานการณ์จริง หรือโทรศัพท์มาเพื่อสร้างสถานการณ์ ทำให้มีผลกระทบ ต่อการจัดบริการนอกโรงพยาบาล การออกรับผู้เจ็บป่วย/บาดเจ็บฉุกเฉินและช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ เพราะสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นผู้ก่อการร้ายมักหาวิธีการ รูปแบบใหม่ ๆ และมีความซับซ้อน มากขึ้นในการก่อความไม่สงบเพื่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต บางครั้งมีการประเมินสถานการณ์ความ ปลอดภัยยังอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่เสี่ยงขณะให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยที่ไม่มีใครคาดคิดมา ก่อน กรณีศึกษาประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่บริการการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าพนักงานกู้ชีพใน สถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดยะลา พบว่าบางครั้งแม้ตรวจสอบสถานการณ์ปลอดภัยเคลียร์พื้นที่ เรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อออกไปรับผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุในพื้นที่กลับมีผู้ก่อความไม่สงบยิงปืนออกมา ทำให้เสี่ยงต่อชีวิต15 จะเห็นได้ว่างานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) เป็นงานนโยบายของ ประเทศไม่สามารถให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ บางโรงพยาบาลออกรับผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บเฉพาะใน เวลากลางวันและอยู่ในเขตเทศบาลเท่านั้น ทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถใช้บริการ EMS ได้อย่าง ทั่วถึง บางคนเจ็บป่วยเวลากลางคืนทำให้ต้องพึ่งตนเองหรืออดทนให้ถึงช่วงเช้า เพราะไม่กล้าเดินทาง มาโรงพยาบาลในเวลากลางคืน จะเห็นว่าทั้งบุคลากรสาธารณสุขและผู้ป่วยต้องมีการปรับตัวและ เรียนรู้ที่จะปฏิบัติงานและอยู่ในพื้นที่ได้อย่างปลอดภัยและเกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด กรณีที่เจ้าหน้าที่นำศพมาชันสูตรในโรงพยาบาลก็จะประสบกับความยากลำบาก เนื่องจากญาติของผู้เสียชีวิตมักจะมุงดูการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นจำนวนมาก


การแก้ปัญหาและการปรับเปลี่ยนด้านระบบบริการสุขภาพ
        1. ปรับระบบการส่งต่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เมื่อมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น ได้มีข้อเสนอแนะในการส่งต่อ ควรพิจารณาถึงความจำเป็นเร่งด่วนของอาการผู้ป่วย หากมีความจำเป็น น้อย ผู้ป่วยมีอาการปลอดภัยรอได้ ควรดำเนินการส่งต่อในเวลากลางวัน ไม่ควรส่งต่อในเวลากลางคืน หรือนอกเวลาราชการ กรณีมีความจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วย และประเมินแล้วผู้ป่วยที่มีอาการปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องมีพยาบาลดูแลในระหว่างเดินทาง ให้อธิบายสร้างความเข้าใจแก่ญาติหรือผู้นำส่งผู้ป่วย โดยควรให้ญาติ ทหาร ตำรวจ เป็นผู้ส่งต่อและดูแลผู้ป่วยระหว่างนำส่ง หากจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วย ในยามวิกาล จะให้พยาบาลไปส่งต่อ 2 คน หรือขอกองกำลังทหาร หรือตำรวจ คุ้มกันนั่งประจำรถพยาบาล ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานบริการแต่ละแห่งตามความจำเป็น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และ ความเหมาะสม กรณีจำเป็นต้องมีการคุ้มครองรักษาความปลอดภัย โดยชุดกองกำลังทหารหรือตำรวจ หรืออาจใช้รถกระบะในการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เป็นจุดเด่น
     2. งดออกชันสูตรนอกโรงพยาบาลหรืออาจจะพิจารณาเป็นกรณี ช่วงที่เกิดสถานการณ์ความ ไม่สงบในช่วงแรกๆ พยาบาลยังต้องออกชันสูตรนอกโรงพยาบาลแต่เมื่อเหตุการณ์ถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น ทำให้มีการทบทวนมาตรการความปลอดภัยในการออกชันสูตรศพนอกโรงพยาบาล จากข้อมูลข้างต้น ผู้ให้ข้อมูลงดออกชันสูตรศพนอกโรงพยาบาล และได้มีแนวทางให้ตำรวจนำศพมาชันสูตรที่ โรงพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของแพทย์ พยาบาลยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่นเดียวกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลาและวิทยาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.)ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร ได้หาแนวทางปฏิบัติงานจากกรณีการชันสูตรศพจาก เหตุการณ์ความไม่สงบ ไว้ดังนี้
   1) การชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ สามารถประสานแจ้งขอรับการสนับสนุนแพทย์ นิติเวชจาก ส่วนวิทยาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจ แห่งชาติส่วนหน้า ซึ่งสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้
     2) ควรมีการชันสูตร ศพในที่เกิดเหตุให้เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด
    3) หากมีปัญหาไม่สามารถดำเนินการในพื้นที่ได้ จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายศพ ควรเคลื่อนย้ายไปชันสูตรที่โรงพยาบาลยะลา หรือ ศปก.ตร.สน.
    4) กรณีศพมุสลิม ควรจัดการศพตามหลักศาสนา อย่างเคารพ เพื่อป้องกันปัญหาด้านการปฏิบัติ ซึ่ง ในขณะนี้ทุกโรงพยาบาลจะไม่ออกชันสูตรนอกโรงพยาบาล
     3. มีมาตรการคัดกรองและตรวจสอบก่อนการรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ได้มีแนวทางและ กำหนดขอบเขตพื้นที่และลักษณะของผู้ป่วยที่จะออกรับผู้ป่วย ซึ่งต้องมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ได้ของข้อมูล และสถานที่ ณ จุดเกิดเหตุ หากประเมินแล้วมีโอกาสเสี่ยงต่ออันตราย และเป็นสถานที่ ที่ไม่รู้จักจะไม่ออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ หรือบางครั้งให้เจ้าหน้าที่ทีมกู้ภัยในระดับตำบลเพื่อช่วยในการ ออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ ถ้าเป็นผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบจะต้องมีการประสานงานกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร หน่วยเก็บกู้ระเบิดเพื่อประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยก่อนให้การ ช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทีมกู้ภัยในพื้นที่จะได้รับการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการ ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจากบุคลากรสาธารณสุข
     4. ประสานขอเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงผู้บาดเจ็บ ในกรณีที่การส่งต่อผู้บาดเจ็บบนภาคพื้นดินมี ความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารได้รับบาดเจ็บ บางครั้งอาจจำเป็นต้องส่ง ต่อผู้บาดเจ็บทางอากาศ จะมีการประสานเพื่อให้ผู้บาดเจ็บได้รับการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพมาก ที่สุด ปลอดภัยที่สุด
      5. เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยในโรงพยาบาล ระบบรักษาความปลอดภัยในการอยู่ใน พื้นที่เป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญอย่างยิ่งพบว่าทุกโรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เพิ่ม ระบบรักษาความปลอดภัยโดยจัดให้มียามตลอด 24ชั่วโมง ติดตั้งกล้องวงจรปิด ปิดประตู โรงพยาบาลกำหนดเวลาเข้าออก ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าเขตบ้านพักของเจ้าหน้าที่ ติดไฟให้สว่างเพื่อ สะดวกในการตรวจตราสิ่งผิดปกติ ซึ่งเป็นข้อตกลงในการหาแนวทางร่วมกันของโรงพยาบาลในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ต้องมีรั้วของโรงพยาบาลด้านหน้าอย่างมิดชิด ด้านข้างอาจมีการวาง ลวดหนามรอบขอบรั้ว และต้องเตรียมระบบไฟ ซึ่งอาจต้องใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลและการสนับสนุนจาก รัฐบาล และพยาบาลรวมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลได้มีการตรวจตราสิ่งปกติ เช่น ถัง ขยะ ถุงสิ่งผิดปกติต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
      6. สำรองเครื่องมือให้พร้อมใช้และเตรียมความพร้อมฉุกเฉินตลอดเวลา เมื่อมีผู้บาดเจ็บและ เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบมากขึ้น โรงพยาบาลต้องเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บเช่น การจัดเตรียมเครื่องมือ ต่างๆ วัสดุทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ พยาบาลต้องวางแผนจัดหาให้มีความพร้อมตลอดเวลาเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลรักษาพยาบาล อย่างมีคุณภาพ เพราะหากมีทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ที่มีคุณภาพแต่เครื่องมือ เวชภัณฑ์ต่างๆไม่เพียงพอ อาจทำให้การดูแลรักษาพยาบาลส่งผลต่อมาตรฐานการให้บริการและ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตได้ ขณะนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่สงบก็ไม่พบว่าอุปกรณ์ เครื่องมือทาง การแพทย์ไม่พอใช้ ซึ่งจากการประชุมผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ และผู้บริหารในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ได้ข้อสรุปประเด็นการสำรองวัสดุ/อุปกรณ์ สิ่งจำเป็นต่างๆ ในยามเกิดเหตุไม่สงบ คือให้เตรียม วัสดุการแพทย์/อุปกรณ์ต่างๆ ให้เตรียมไว้อย่างน้อย 2 เท่า สำรองน้ำมันเชื้อเพลิง รถ/ยานพาหนะ
       สรุป
            จากข้อมูลข้างต้นแม้สถานการณ์ความไม่สงบที่ยืดเยื้อและไม่มีวี่แววจะยุติ สถานบริการด้าน สุขภาพต้องพยายามเรียนรู้ ปรับตัวเพื่อให้สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่และปฏิบัติงานให้ได้ตามเกณฑ์ มาตรฐาน และนโยบายของประเทศภายใต้ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นโดยก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตน้อยที่สุด เช่น ปรับระบบการส่งต่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ คัดกรองตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนออกรับ ผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ ระบบรักษาความปลอดภัย การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือและตนเองตลอดเวลา เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีมาตรฐาน และ เป็นที่พึ่งของประชาชนท่ามกลางความไม่สงบ ความขัดแย้งต่างๆ ในพื้นที่

    

วิเคราะห์เงื่อนไขพื้นฐานของความขัดแย้งของสามจังหวัดชายแดนใต้

Posted by แน่งน้อย 4/26/2554 02:58:00 หลังเที่ยง, under |

วิเคราะห์เงื่อนไขพื้นฐานของความขัดแย้ง
             จากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้จากอดีตมาถึงปัจจุบัน สามารถ สรุปเงื่อนไขพื้นฐานของความขัดแย้ง ได้ดังนี้            
                เงื่อนไขโดยรวม                    จากรายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ซึ่งได้ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีข้อสรุปเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหา ที่สอดคล้องกันว่า ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปมปัญหาและเงื่อนไขที่นำมาใช้ขยายวงของปมปัญหา  เพื่อแสวงประโยชน์ เฉพาะกลุ่ม กล่าวคือ ปมปัญหาที่แท้จริง เป็นปัญหา การแบ่งแยกดินแดนที่เชื่อมโยงมาจากปมประวัติศาสตร์ ซึ่งกลุ่มก่อความไม่สงบ กำหนดเป็นเป้าหมายสุดท้ายในการเคลื่อนไหวต่อสู้เอาชนะ โดยใช้ปัจจัยเงื่อนไขที่สำคัญ ๓ ประการ เพื่อเคลื่อนไหวปลุกปั่นขยายวงของปมปัญหา ได้แก่
                        ๑)  เงื่อนไขพื้นฐานทางด้านวัฒนธรรมสังคมที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา และประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ได้ถูกนำไปปลุกปั่นเพื่อปลูกฝังความคิดและความเชื่อที่ผิดๆรวมทั้งสร้างความรู้สึกแปลกแยกในหมู่ประชาชน
                        ๒)  เงื่อนไขพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครองซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐที่ขัดแย้งกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ และความไม่เป็นธรรมของกระบวนการยุติธรรม ทำให้เจ้าหน้าที่เข้าไม่ถึงประชาชน และไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ส่งผลให้ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ

                        ๓)  เงื่อนไขพื้นฐานทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับพื้นที่อื่น เนื่องจากระบบเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่เข้มแข็ง และกระจายผลการพัฒนาอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน และความยากจนค่อนข้างมาก รวมทั้งคุณภาพชีวิตของประชาชนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยเฉพาะด้านการศึกษาและสาธารณสุข
                        นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขที่หล่อเลี้ยงปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ให้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ นโยบายการแก้ปัญหาที่ไม่สอดคล้อง กับความต้องการของประชาชน และขาดการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ที่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชน การสนับสนุนจากต่างประเทศ ตลอดทั้งการปฏิบัติของกลุ่มผู้มีอิทธิพลค้าของเถื่อน และยาเสพติดที่มีแนวโน้มมีความรุนแรงสูงในพื้นที่ เงื่อนไขต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ถูกนำมาขยายผลต่อเติมเสริมแต่ง หรือแม้แต่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในรูปของข่าวลือ การบิดเบือนหลักศาสนาโดยกลุ่มขบวนการก่อความไม่สงบเพื่อจุดประสงค์ในการสร้างแนวร่วมและสร้างความเกลียดชังต่อเจ้าหน้าที่รัฐ และเมื่อผสมผสานกับความเชื่อที่เจ็บปวดจากประวัติศาสตร์ในอดีตที่สะสมความรับรู้มาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นปัจจัยที่หล่อเลี้ยงความรุนแรงในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
           เงื่อนไขความขัดแย้งในประวัติศาสตร์
                   ภูมิหลังของขบวนการต่อต้านอำนาจรัฐ หรือสมัยหนึ่งที่ทางราชการเคยเรียกว่า ขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือขบวนการโจรก่อการร้าย หรือกลุ่มก่อความไม่สงบ ที่รู้จักกันในปัจจุบัน แท้จริงแล้วมีความเป็นมาที่ยาวนานคู่กับประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย ที่สำคัญคือ ได้มีนักวิชาการด้านความมั่นคงจำนวนมากเชื่อมั่นว่าภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของรัฐปัตตานีในอดีตคือพลัง ๑ ใน ๓ ส่วนของพลังแห่งอุดมการณ์การต่อสู้ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนรุ่นใหม่ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีข้อมูล ภูมิหลังประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยสังเขปนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน กล่าวคือ
                    การเข้าใจประวัติศาสตร์ปัตตานีเพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ การแก้ปัญหาคามมั่นคงของชาตินั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐาน ของเหตุผล  และความเป็นกลาง จุดเริ่มต้น
จึงอยู่ที่การตั้งกรอบคิดที่เป็นกลาง และตามมาด้วยการตั้งสมมุติฐานที่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางสังคม ที่สู้กันอยู่ตลอดเวลา จนนำไปสู่ความขัดแย้ง และเกิดปัญหาความแตกต่าง ในความเข้าใจของคนปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ มองว่า การที่มีความเชื่อว่าหัวเมืองมลายูภาคใต้ เป็นดินแดนของใครมาก่อน ไม่อาจจะเข้าใจรากเหง้าที่แท้จริงของปัญหา ในปัจจุบันที่เกิดจากอดีตได้ เนื่องจากการมองแบบดังกล่าวอาศัยฐานคิดว่าด้วยรัฐชาติสมัยใหม่ที่เน้นว่า ประเทศชาติต้องมีเอกลักษณ์และเอกภาพหนึ่งเดียว ในขณะเดียวกันก็เชื่อว่า เอกลักษณ์ และเอกภาพดังกล่าวเป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากอดีตอันยาวนาน ในประวัติศาสตร์ แต่ความเป็นจริงก็คือ เอกลักษณ์ของชาติ ในรัฐชาติสมัยใหม่นี้เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ประเทศและรัฐในปัจจุบันก็เป็นผลผลิตของกระบวนการทางการเมือง ในประวัติศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงเวลาประมาณ ๑๐๐ กว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น จึงไม่ควรเอาบริบทของสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่มาตีความอดีตที่เกิดขึ้นนานนับร้อยนับพันปีได้
                   ประเด็นที่ควรพิจารณาก็คือ ประวัติศาสตร์การกำเนิดของรัฐชาติสมัยใหม่ รวมทั้งไทยก่อตัวขึ้นในช่วงเวลาที่มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างระบบอำนาจในดินแดนต่าง ๆ สถานการณ์ดังกล่าวมีความสัมพันธ์ระหว่างระบบอำนาจแบบไม่เท่าเทียมกันระหว่างศูนย์อำนาจใหญ่น้อย "ซึ่งต่างก็ไม่มีขอบเขตดินแดนที่แน่นอน" ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในขณะนั้นก็ไม่แน่นอนตามไปด้วย ขึ้นอยู่กับว่าท้องถิ่นใดเข้มแข้งมากกว่ากัน ปัญหาในอดีต จึงมิใช่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ส่วนกลางกับท้องถิ่นหรือชายขอบ แต่เป็นเรื่องที่ว่าท้องถิ่นใดแข็งและมีพลังอำนาจมากกว่าท้องถิ่นอื่น และท้องถิ่นทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร ในแต่ละช่วงเวลา การศึกษาเพื่อวิเคราะห์ความจริงในอดีตจึงต้องอาศัยการยึดถือ "ความเป็นจริง" ของท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง จึงจะเห็นภาพอดีตได้อย่างชัดเจนและนำมาสู่ ความเข้าใจการต่อสู้ และความขัดแย้งที่สืบเนืองมาถึงในปัจจุบันได้อย่างถูกต้องและไร้ความลำเอียง
                   เมื่อทำความเข้าใจอดีตโดยใช้ท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง สิ่งที่ตามมาในการทำความเข้าใจการเมือง ของคาบสมุทรมลายูก็คือต้องเข้าใจว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับรัฐปัตตานีในอดีตเกิดขึ้น รัฐไทยหรือสยาม คือราชอาณาจักรสยามที่มีกรุงศรีอยุธยาหรืกรุงเทพเป็นศูนย์กลางในดินแดนกลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนรัฐปัตตานีนั้น เป็นรูปแบบโครงสร้างทางการเมือง แบบที่ เรียกว่ารัฐสุลต่านปาตานี ความสัมพันธ์และการต่อสู้ทางอำนาจในภูมิภาคคาบสมุทรมลายูของหน่วยการเมืองทั้งสองแบบเกิดขึ้นในห้วงเวลาอันยาวนาน อย่างน้อยที่สุดเท่าที่มีเอกสารบันทึกไว้ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๖ ถ้าสังเกตจากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นปัตตานี ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจทางการเมืองทั้งสอง จนกระทั่งก่อนศตวรรษที่ ๑๙ ก็ปรากฏให้เห็นชัดใน ๒ ลักษณะใหญ่ ๆ คือ การให้บรรณาการและการทำสงครามระหว่างกัน การให้เครื่องราชบรรณาการจากปัตตานี และสยามส่งกำลังมารบเพื่อโจมตีปัตตานี เว้นแต่ครั้งแรก ในช่วงที่ฝ่ายปัตตานียกกำลังไปโจมตีกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ฝ่ายสยามกำลังรบกับกองทัพพม่า ลักษณะพิเศษของความสัมพันธ์ระหว่างปัตตานีกับสยามก่อนศตวรรษที่ ๑๙ ดังกล่าว จบลงด้วยการสูญเสียของอำนาจสุลต่านปัตตานีแก่รัฐสยามในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ (ผ่านช่วงภายหลังการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์มาได้ ๓ ปี) หลังจากนั้นความสัมพันธ์ก็เปลี่ยนไปเป็นรูปการปกครองแบบหัวเมืองชั้นนอก กับศูนย์กลางคือกรุงเทพ แต่การต่อสู้ในลักษณะสงคราม และการก่อการกบฏลุกขึ้นสู้ก็ยังเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น จนกระทั่งเกิดการบูรณาการของรัฐไทยให้เป็นรัฐชาติสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และปรับปรุงนโยบายการบริหารให้เหมาะสมกับยุคสมัยจากรัชกาลที่ ๖ - รัชกาลปัจจุบัน ส่งผลให้สัมพันธภาพทางอำนาจเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน
             สรุปภาพรวม
                   จากสถานการณ์ความขัดแย้งในอดีตระหว่างรัฐกับประชาชน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผลต่อภาพลักษณ์ของข้าราชการ ในสายตาประชาชนมุสลิมท้องถิ่น โดยเฉพาะข้าราชการตำรวจและฝ่ายปกครอง ซึ่งแม้ว่าวิกฤตการณ์ครั้งนั้น จะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ความรู้สึกไม่พอใจและภาพลักษณ์ ดังกล่าว ก็คงมีอยู่ในหมู่ชาวมลายูมุสลิมทางภาคใต้เสมอ จนส่งผล ให้มีความไม่สงบเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ การก่อความไม่สงบในภาคใต้ก็คงเป็นการปฏิวัติ เชิงรัฐศาสตร์ ที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระ ขณะที่รัฐบาลไทย กำลังมุ่งเน้นการเอาชนะ การขยายอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรง คู่ขนาน กับการทำงานจิตวิทยามวลชน ทำให้เหตุการณ์วิกฤตภาคใต้เริ่มสงบลงในช่วง พ.ศ. ๒๕๒๕ แต่ก็เป็นเพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น
                        จากผลการศึกษารายงานการวิจัยและรายงานการศึกษาปัญหาของคณะทำงานต่าง ๆ ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคง ที่มีต่อสภาพปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทำให้ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่นั้นมีหลายประการ ได้แก่ ปัญหาการเมืองการปกครอง การศึกษา การต่างประเทศ เศรษฐกิจ ยาเสพติด การแย่งชิง ผลประโยชน์ของกลุ่มการเมือง การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน ของเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วน ความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติ การกำหนดนโยบายและโครงการต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น การขัดแย้งกันเองของเจ้าหน้าที่ การค้าของเถื่อน การประพฤติมิชอบในวงราชการ การเคลื่อนไหวต่อสู้กับอำนาจรัฐของขบวนการแบ่งแยกดินแดน การไม่ยอมรับความหลากหลายทาง วัฒนธรรมปั ญหาทางด้านสังคมจิ ตวิทยา กระแสการเมือง ระดับสากลที่ส่งผล สะเทือนต่อเจตคติของประชาชนบางกลุ่มในประเทศ เช่น การปฏิวัติอิสลาม การปฏิเสธโลกาภิวัตน์ ปัจจัยด้านประวัติศาสตร์ปัตตานี ผลพวงจากนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐในอดีต ความต้องการปกป้องอัตลักษณ์ของคนเชื้อสายมลายู ตลอดถึงความผิดพลาดเชิงนโยบายของรัฐบาลที่ตัดสินใจยุบเลิกหน่วยงานสำคัญที่ยังจำเป็นต่อภารกิจด้านความมั่นคง อันได้แก่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กองบัญชาการผสมพลเรือนตำรวจทหารที่ ๔๓ (พตท.๔๓) และเขตการศึกษา ๒
                    แม้ผลการศึกษาจะพบว่ามีปัญหาหลายประการทับซ้อนกันอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนยากที่จะสังเกตแยกแยะได้ว่าอะไรเป็นปัญหาหลักที่มีอิทธิพลต่อปัญหาอื่น ๆ แต่เมื่อกำหนดให้สถานการณ์ความไม่สงบเป็นโจทย์แล้วหาคำตอบว่าอะไรคือปัญหาใจกลางของสถานการณ์ การค้นหาคำตอบดังกล่าวผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องมีความคิดจิตใจที่เป็นกลางศึกษาพิจารณาปรากฏการณ์ และหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างรอบคอบ ไม่โน้มเอียง ไปกับความรู้สึกและประสบการณ์เดิมใด ๆ ของตน ผู้ศึกษาก็จะค่อย ๆ มองเห็นภาพความจริงของสถานการณ์ความไม่สงบอย่างชัดเจนได้ โดยอาศัยหลักการพิจารณาข้อมูล รายงานการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรายงานการสอบสวนขยายผล ของเจ้าหน้าที่ภาคสนาม จากคำให้การของประชาชนผู้ประสบเหตุรุนแรงโดยตรง ตลอดถึงคำรับสารภาพของสมาชิกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ดังกล่าว ทำให้ทราบว่า "ผู้ก่อความไม่สงบที่แท้จริงขณะนี้ คือ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีกลุ่ม B.R.N. Co-ordinate เป็นแกนนำ ฉะนั้นคำตอบต่อโจทย์ข้างต้นคือ ขบวนการแบ่งแยกดินแดน เป็นปัญหาใจกลางของสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนปัญหาอื่น ๆ เป็นเพียงปัจจัยรองและปัจจัยเสริมของปัญหาการเคลื่อนไหวต่อสู้กับอำนาจรัฐของขบวนการแบ่งแยกดินแดนเท่านั้น"

ปฏิทิน

แน่งน้อย

เล่นทราย

อยากเห็นคนไทยรักกันได้อย่างเดิม

คนไทยหัวใจเดียวกัน

to A